อบต.หนองพอก อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด

อบต.หนองพอก อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด 45210 โทร.043-579434



ทำเนียบบุคลากร

ออนไลน์ : 4

 

 
1.สภาพทั่วไป

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก  อำเภอหนองพอก  จังหวัดร้อยเอ็ด  เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 23  กุมภาพันธ์  2540 ซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัดและกระทรวงมหาดไทย โดยมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกเป็นผู้บริหารสูงสุด  มีภารกิจ อำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับและมติ ครม.ที่เกี่ยวข้อง มีวิสัยทัศน์ คือ “องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกเป็นเมืองน่าอยู่ ด้วยการบริหารจัดการที่ดี มีความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยชุมชนมีความเข้มแข็ง ครอบครัวมีความอบอุ่นและสงบสุข” 

                        1.1  ที่ตั้ง
                                ตำบลหนองพอกแบ่งการปกครองออกเป็น  14  หมู่บ้าน  อยู่ในเขตเทศบาล 4 หมู่บ้าน  อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก  11  หมู่บ้าน  ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสาธารณะประโยชน์โคกหนองเดิ่น  ห่างจากอำเภอหนองพอกประมาณ  1  กิโลเมตร  ห่างจากจังหวัดร้อยเอ็ด  75  กิโลเมตร  ห่างจากกรุงเทพมหานคร  580  กิโลเมตร
 
                        1.2  ขนาดของพื้นที่
                                เนื้อที่ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ  63 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 39,376 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับหน่วยการปกครองอื่นๆ ดังนี้ คือ
                                ทิศเหนือ                ติดกับตำบลภูเขาทอง อำเภอหนองพอก
                                ทิศใต้                    ติดกับตำบลรอบเมืองและตำบลกกโพธิ์  อำเภอหนองพอก
                                ทิศตะวันออก           ติดกับตำบลบึงงาม  อำเภอหนองพอก
                                ทิศตะวันตก             ติดกับตำบลกกโพธิ์  อำเภอหนองพอก
 
                                สภาพภูมิอากาศ  อยู่ในประเภทฝนเมืองร้อน  ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  ฝนตกชุกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน  อากาศร้อนและแห้งแล้งในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน  มี  3  ฤดู  คือ
                                ฤดูร้อน                  เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์  ถึงเดือนพฤษภาคม
                                ฤดูฝน                    เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม  ถึงเดือนตุลาคม
                                ฤดูหนาว                 เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม  ถึงเดือนกุมภาพันธ์


2.เขตการปกครอง

                        2.1  องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก ประกอบด้วยหมู่บ้านจำนวน  11  หมู่บ้าน  ดังนี้
                                1.  จำนวนหมู่บ้านที่มีพื้นที่เต็มทั้งหมู่บ้าน  10  หมู่  ได้แก่  หมู่ที่  3  บ้านปลาโด,  หมู่ที่  4  บ้านฉวะ,  หมู่ที่  5  บ้านฉวะ, หมู่ที่  6  บ้านโคกเลาะ,  หมู่ที่  7  บ้านโคกนาคำ,  หมู่ที่  9  บ้านปลาโด,  หมู่ที่  10  บ้านฉวะ,  หมู่ที่  12  บ้านโคกสว่างอารมณ์,  หมู่ที่  13  บ้านสันติสุขพัฒนา  และหมู่ที่  14  บ้านศรีทุ่งเจริญ
                                2.  จำนวนหมู่บ้านที่มีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาล  ได้แก่  หมู่ที่  8  บ้านหนองพอก    พื้นที่ที่อยู่ในเขต อบต.หนองพอก เรียกว่า  หมู่ที่  8  บ้านหนองพอก (บ้านบุ่งหมากฟัก)
 
                         2.2  ประชากร
                                ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกมีประชากรทั้งสิ้น  6,514  คน  แยกเป็นชาย  3,275  คน   หญิง  3,239 คน  มีความหนาแน่นเฉลี่ย  103.39  คน/ตารางกิโลเมตร  ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  จำแนกประชากรเป็นรายหมู่บ้าน  ดังนี้

ตารางที่  1  แสดงจำนวนประชากรและจำนวนครัวเรือน
 
หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนประชากร จำนวนครัวเรือน
ชาย หญิง รวม
3 ปลาโด 257 265 522 142
4 ฉวะ 308 315 623 164
5 ฉวะ 320 303 623 134
6 โคกเลาะ 348 328 676 139
7 โคกนาคำ 240 241 481 122
8 หนองพอก (บุ่งหมากฟัก) 278 203 481 51
9 ปลาโด 396 422 818 225
10 ฉวะ 274 316 590 146
12 โคกสว่างอารมณ์ 343 334 677 177
13 สันติสุขพัฒนา 332 333 665 141
14 ศรีทุ่งเจริญ 179 179 358 82
รวมทั้งสิ้น 3,235 3,275 3,239 6,514
ข้อมูล  :  สำนักบริหารการทะเบียน อำเภอหนองพอก  ณ  8   มิถุนายน   2559    

ตารางที่  2  แสดงจำนวนประชากรแยกตามเกณฑ์อายุ
 
แยกตามเกณฑ์อายุ ชาย หญิง รวม
เป็นบุคคลที่ทำบัตรประจำตัวประชาชน 39 39 78
เป็นบุคคลที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง อายุ  15 ปี 2,474 2,509 4,983
เป็นบุคคลที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง อายุ  18 ปี 2,316 2,369 4,685
เป็นบุคคลที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง อายุ  20 ปี 2,203 2,285 4,488
เป็นบุคคลที่ต้องขึ้นทะเบียนทหาร 60 0 60
เป็นบุคคลที่ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร 40 0 40
       
ข้อมูล  :  สำนักบริหารการทะเบียน อำเภอหนองพอก  ณ  8   มิถุนายน   2559      

3.สภาพเศรษฐกิจ

                        3.1  อาชีพ  
                                ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมอาชีพหลักคือ การทำนา รองลงมาทำไร่  พืชไร่ที่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ  คือ  อ้อย  มันสำปะหลัง  ถั่วลิสง
ยูคาลิปตัส  พืชเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นรายได้ให้แก่ชุมชนในอนาคตอย่างหนึ่งคือ ยางพารา ซึ่งมีประชาชนในพื้นที่ตำบลปลูกกันเป็นจำนวนมาก รวมเป็นพื้นที่ ประมาณ  427 ไร่  นอกจากนี้เกษตรกรมีการทำสวน  เช่น สวนมะม่วง  กล้วยน้ำว้า   ตลอดจนไม้ยืนต้นอื่น ๆ และมีการทำการเกษตรแบบยังชีพภายในครอบครัว  พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝน   ประชากรประกอบอาชีพทำนา ร้อยละ 75   ทำไร่ ทำสวน ร้อยละ 20   อาชีพค้าขาย ร้อยละ 2  และอาชีพอื่น ๆ  ร้อยละ  3 
 
                        3.2  หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก
                           -  โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก(โรงน้ำแข็ง)  1       แห่ง   
                           -  รีสอร์ท/ที่พักค้างคืน                          2       แห่ง
                                                                
                        3.3  แรงงาน/รายได้
                                แรงงานที่ใช้ในภาคเกษตรในตำบลส่วนใหญ่ใช้แรงงานจากสมาชิกในครัวเรือนเป็นสำคัญหากแรงงานไม่เพียงพอจะทำการจ้างแรงงานที่มีอยู่ในตำบลเข้ามาช่วยในฤดูการผลิต  เมื่อสิ้นสุดฤดูการผลิตแรงงานที่ว่างงานจากภาคเกษตรกรรมจะไปรับจ้างทำงานทั่วไปในจังหวัดใกล้เคียงและกรุงเทพมหานคร  รายได้ของครัวเรือนส่วนใหญ่มีรายได้จากภาคการเกษตรเป็นหลัก  โดยรายได้เฉลี่ยประมาณ   68,923   บาท / คน / ปี 
 
ตารางที่  2  แสดงรายได้เฉลี่ยของประชากรในเขต อบต.หนองพอก
ที่ หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน รายได้เฉลี่ย
บาท/คน/ปี
เปรียบเทียบรายได้เฉลี่ย พ.ศ. 2556 - 2557
พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2559 เพิ่มขึ้น ลดลง
1 3 บ้านปลาโด 61,956 52,775 9,181 -
2 4 บ้านฉวะ 48,161 49,860 1,699 -
3 5 บ้านฉวะ 60,802 65,102 4,300 -
4 6 บ้านโคกเลาะ 65,639 70,365 4,726 -
5 7 บ้านโคกนาคำ 48,175 46,698 - 1,477
6 8 บ้านหนองพอก (บุ่งหมากฟัก) 95,614 76,146 - 19,468
7 9 บ้านปลาโด 48,936 55,254 6,318 -
8 10 บ้านฉวะ 52,653 49,610 - 3,043
9 12 บ้านโคกสว่างอารมณ์ 60,179 57,529 - 2,650
10 13 บ้านสันติสุขพัฒนา 34,896 37,316 2,447 -
11 14 บ้านศรีทุ่งเจริญ 65,053 59,343 - 5,710
รายได้เฉลี่ยทุกพื้นที่ 54,146 54,184 38 -
ข้อมูล : จปฐ. ปี 2558, 2559
 
                         3.4   อุตสาหกรรม
                                อุตสาหกรรมในตำบลหนองพอกเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ใช้วัตถุดิบทางการเกษตรเป็นหลัก  ได้แก่  โรงสีข้าว  นอกจากนี้ยังมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก  ได้แก่  โรงงานน้ำแข็ง  จำนวน  1  แห่ง  ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7  บ้านโคกนาคำ


4.สภาพทางสังคม

                        4.1  ข้อมูลด้านการศึกษา
                                ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกมีสถาบันการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน  3  แห่ง  และมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน   3  แห่ง  ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน  11  แห่ง
 
                        ข้อมูลบุคลากรทางการศึกษา
 
                       1.  โรงเรียนบ้านปลาโด  มีครู/อาจารย์  จำนวน 9 คน  อัตราส่วนครู : นักเรียน  = 1 : 16.88
                       2.  โรงเรียนศรีสวัสดิ์  มีครู/อาจารย์ จำนวน  10 คน  อัตราส่วนครู  :  นักเรียน  =  1 :  9.2
                       3.  โรงเรียนบ้านโคกนาคำ มีครู/อาจารย์ จำนวน 9 คน อัตราส่วนครู : นักเรียน =  1 : 13.66
                       4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดท่าแสงจันทร์  มีผู้ดูแลเด็ก  จำนวน ๔ คน   นักเรียน 35  คน แยกเป็น ชาย 20 คน หญิง 15  คน  อัตราส่วนผู้ดูแลเด็ก : นักเรียน  =   1  :  8.75
                       5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกนาคำ  มีผู้ดูแลเด็ก  จำนวน  2  คน   นักเรียน  30  คน  แยกเป็น ชาย  12 คน  หญิง  18  คน  อัตราส่วนผู้ดูแลเด็ก   :  นักเรียน  =   1  :  15.00
                       6.  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปลาโด  มีผู้ดูแลเด็ก  จำนวน  3  คน   นักเรียน  35  คน  แยกเป็น ชาย  17 คน  หญิง  18  คน  อัตราส่วนผู้ดูแลเด็ก   :  นักเรียน  =   1  :  8.75
       ข้อมูล  :  ณ   วันที่  20  พฤษภาคม  2559
 
ตารางที่  3  แสดงจำนวนนักเรียนโรงเรียนบ้านปลาโด
 
ระดับชั้น จำนวนนักเรียน  (คน) จำนวนห้องเรียน
ชาย หญิง รวม
อนุบาล  1 13 10 23 1
อนุบาล  2 9 11 20 1
ประถมศึกษาปีที่  1 11 10 21 1
ประถมศึกษาปีที่  2 9 8 17 1
ประถมศึกษาปีที่  3 8 11 19 1
ประถมศึกษาปีที่  4 7 10 17 1
ประถมศึกษาปีที่  5 8 9 17 1
ประถมศึกษาปีที่  6 11 7 18 1
รวมทั้งสิ้น 76 76 152 8
       ข้อมูล  :  ณ   วันที่  20   พฤษภาคม   2559     
 
 
ตารางที่  4  แสดงจำนวนนักเรียนโรงเรียนศรีสวัสดิ์
 
ระดับชั้น จำนวนนักเรียน  (คน) จำนวนห้องเรียน
ชาย หญิง รวม
อนุบาล  1 8 12 20 1
อนุบาล  2 2 3 5 1
ประถมศึกษาปีที่  1 9 4 13 1
ประถมศึกษาปีที่  2 6 1 7 1
ประถมศึกษาปีที่  3 7 5 12 1
ประถมศึกษาปีที่  4 3 7 10 1
ประถมศึกษาปีที่  5 7 5 12 1
ประถมศึกษาปีที่  6 6 7 13 1
รวมทั้งสิ้น 48 44 92 8
       ข้อมูล  :  ณ   วันที่  20   พฤษภาคม   2559     
 
ตารางที่  5  แสดงจำนวนนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกนาคำ
ระดับชั้น จำนวนนักเรียน  (คน) จำนวนห้องเรียน
ชาย หญิง รวม
อนุบาล  1 11 5 16 1
อนุบาล  2 4 5 9 1
ประถมศึกษาปีที่  1 4 8 12 1
ประถมศึกษาปีที่  2 6 3 9 1
ประถมศึกษาปีที่  3 11 11 22 1
ประถมศึกษาปีที่  4 6 12 18 1
ประถมศึกษาปีที่  5 11 12 23 1
ประถมศึกษาปีที่  6 8 6 14 1
รวมทั้งสิ้น 61 62 123 8
       ข้อมูล  :  ณ   วันที่  20   พฤษภาคม   2559     
 
                        4.2  ข้อมูลด้านการศาสนา
                                ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกมีศาสนสถานทางพุทธศาสนา  จำนวน   9  แห่ง  สถานที่ให้บริการมีความทั่วถึงและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่มาประกอบพิธีทางศาสนาในงานบุญ  งานประเพณี  และวันนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ ของตำบล  ดังนี้
                                (1)  วัดปิยะวาสบำรุง            ตั้งอยู่ หมู่     3   บ้านปลาโด
                                (2)  วัดตูมทองวนาราม           ตั้งอยู่ หมู่     9   บ้านปลาโด
                                (3)  วัดทุ่งเจริญ                  ตั้งอยู่ หมู่     7   บ้านโคกนาคำ
                                (4)  วัดป่าศิริมงคล               ตั้งอยู่ หมู่   12   บ้านโคกสว่างอารมณ์
                                (5)  วัดท่าแสงจันทร์             ตั้งอยู่ หมู่    6    บ้านโคกเลาะ
                                (6)  วัดศรีสวัสดิ์               ตั้งอยู่ หมู่    5    บ้านฉวะ
                                (7)  วัดบูรพาสามัคคีธรรม       ตั้งอยู่ หมู่   10   บ้านฉวะ
                                (8)  วัดป่าดำรงค์ธรรม           ตั้งอยู่ หมู่     8   บ้านหนองพอก (บุ่งหมากฟัก)
                                (9)  วัดป่าโป่งช้าง                ตั้งอยู่ หมู่    13  บ้านสันติสุขพัฒนา
 
                        4.3  ข้อมูลด้านการสาธารณสุข
                                มีสถานบริการด้านสาธารณสุข  จำนวน  1  แห่ง  คือ  โรพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฉวะ  ตั้งอยู่หมู่ที่  5  บ้านฉวะ  มีเจ้าหน้าที่  3  คน  คอยให้บริการแก่ประชาชนในเขตพื้นที่  หมู่ที่ 4, 5, 6, 8  และ  10  มีพื้นที่ประมาณ  2 ไร่   มีอาสาสมัครสาธารณสุข  จำนวน  198  คน  อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ  ร้อยละ  100   การบริการด้านสาธารณสุขของตำบลหนองพอกนับว่าให้ความสะดวกแก่ประชาชนในหมู่บ้านต่าง ๆ  อย่างทั่วถึง  ซึ่งนอกจากประชาชนจะรับบริการจากโรพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแล้วประชาชนยังสามารถไปรับบริการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลประจำอำเภอหนองพอกได้โดยสะดวกอีกด้วย
 
                        4.4  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                                สถานีตำรวจ .................. - ...................  แห่ง
                                สถานีดับเพลิง ................1...................  แห่ง
 
                        4.5  ขนบธรรมเนียมประเพณี
                                -  บุญข้าวจี่                    เดือน  กุมภาพันธ์
                                -  บุญมหาชาติ                เดือน  มีนาคม
                                -  งานสงกรานต์              เดือน  เมษายน
                                -  บุญบั้งไฟ                   เดือน  พฤษภาคม
                                -  ประเพณีเข้าพรรษา      เดือน  กรกฎาคม
                                -  ประเพณีออกพรรษา     เดือน  ตุลาคม
                                -  ประเพณีบุญมหากฐิน    เดือน  ตุลาคม – พฤศจิกายน


5.การบริการพื้นฐาน

                        5.1  การคมนาคม  เส้นทางการคมนาคม  แบ่งเป็น  4  ประเภท  ดังนี้
                               1.  ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2316 ติดต่อกับอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอ เลิงนกทา  จังหวัดยโสธร
                               2. ถนนลาดยาง รพช. ผ่านหมู่ที่ 9 บ้านปลาโด เข้าเขตตำบลภูเขาทองไปยังอำเภอเมยวดี
                               3. ถนนลาดยาง  กรมโยธาธิการ  ผ่านหมู่ที่ 10  บ้านฉวะ 
                               4. ถนนเชื่อมหมู่บ้าน ส่วนใหญ่จะเป็นถนนคอนกรีตและลูกรัง   
                               การคมนาคมในเขตตำบลใช้เดินเท้า  รถจักรยาน  รถจักรยานยนต์  รถยนต์  เป็นส่วนใหญ่  ส่วนการติดต่อกับชุมชนอื่นนอกเขตตำบลใช้รถยนต์  รถจักรยานยนต์มาสู่ถนนสายหลัก  เพื่อต่อรถประจำทางไปยังอำเภอใกล้เคียง
                                การขนส่งผลผลิตทางการเกษตร  สินค้าเกษตรส่วนใหญ่จะใช้รถบรรทุกขนาดเล็กขนส่งผลผลิตจากแหล่งผลิตในหมู่บ้านมาส่งที่แหล่งรับซื้อในเขตอำเภอหนองพอกและอำเภอใกล้เคียง 
 
                        5.2  การโทรคมนาคม
                                -  ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ..................... - ...................... แห่ง
                                -  สถานีโทรคมนาคมอื่น ๆ ...................... -  ...................... แห่ง
 
                        5.3  การไฟฟ้า
                                ในเขตตำบลหนองพอกมีไฟฟ้าเข้าถึงให้บริการภายในตำบลทุกหมู่บ้าน  ทั้งตำบลมีไฟฟ้าใช้ร้อยละ  100
            &nb
View : 8912