อบต.หนองพอก อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด

อบต.หนองพอก อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด 45210 โทร.043-579434



ทำเนียบบุคลากร

ออนไลน์ : 38



 


1. วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก  (Vision)
 
                 วิสัยทัศน์  (Vision)  หมายถึง  สภาพการณ์ในอุดมคติ  ซึ่งเป็นจุดหมายที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคตข้าง หน้า  องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกมีวิสัยทัศน์  ดังนี้
“องค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองพอกเป็นเมืองน่าอยู่ ด้วยการบริหารจัดการที่ดี มีความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคมโดยชุมชนมีความเข้มแข็ง ครอบครัวมีความอบอุ่นและสงบสุข”
 
2.  พันธกิจ
                   พันธกิจ  (Mission)  ในการพัฒนาท้องถิ่นเป็นสิ่งที่ อบต.หนองพอกจะต้องทำเพื่อให้การพัฒนานำไปสู่วิสัยทัศน์หรือความต้องการที่จะ เป็นในอนาคตข้างหน้า  ทั้งนี้  พันธกิจหรือภารกิจหลักที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกจะต้องดำเนินการมี   8  ภารกิจหลัก  คือ
                 1.  พัฒนา  ระบบคมนาคม  ระบบสาธารณูปโภค  ให้เป็นชุมชนที่น่าอยู่  มีบริการสาธารณะที่ครอบคลุมครบถ้วน
                 2.  ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน  และการสาธารณสุข เพื่อสร้างสังคมคุณภาพและน่าอยู่
                 3.  ส่งเสริมการศึกษาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ  เสริมสร้างท้องถิ่นให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และมีประชาคมที่เข้มแข็ง
                 4.  ส่งเสริมการรักษาความสงบ  ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้ประชาชนได้อยู่ เย็นเป็นสุข
                 5.  ส่งเสริมสนับสนุนการประกอบอาชีพ และเศรษฐกิจภายในท้องถิ่นให้เข้มแข็ง  ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
                 6.  สืบสานศิลปวัฒนธรรม  ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป
                 7.  อนุรักษ์  พัฒนาและจัดการสภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น
                 8.  มุ่งพัฒนาการเมืองการบริหาร  สร้างมาตรฐานการปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพ
 
3.  จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
                 จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกที่จะ ดำเนินการในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนานี้ได้กำหนดให้สอดคล้องกับพันธกิจหรือ ภารกิจหลักที่กล่าวมาในข้อ  4.2   มี  10  จุดมุ่งหมาย  ดังนี้
                 1.  ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีการคมนาคมขนส่งที่สะดวกรวดเร็วปลอดภัยและได้มาตรฐาน
                 2.  ประชาชนมีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐานและเพียงพอ
                 3.  พัฒนางานสาธารณสุขให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีแข็งแรงทั้งกายและจิต  สร้างสังคมแห่งความเอื้ออาทรช่วยเหลือแบ่งปันและอบอุ่น
                 4.  ชุมชนมีความเข้มแข็งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ส่งเสริมการศึกษาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ
                 5.  ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข มีความสงบ เป็นระเบียบเรียบร้อยและมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                 6.  ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นดำรงอยู่คู่ท้องถิ่น และเป็นที่รู้จักแพร่หลายต่อสาธารณะ
                 7.  เศรษฐกิจชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีความเข้มแข็งประชาชนมีคุณภาพ ชีวิตที่ดี มีอาชีพและรายได้ที่พอเพียงต่อการดำรงชีวิต
                 8.  ชุมชนมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์และสิ่งแวดล้อมที่ดีอยู่คู่กับชุมชนตลอดไป
                 9.  ประชาชนได้รับการบริการที่มีประสิทธิภาพรวดเร็วและเท่าเทียมกันภายใต้แนวทางการบริหารจัดการที่ดี
                 10.  การเมืองการบริหารจัดการของท้องถิ่นมีประสิทธิภาพโปร่งใสโดยประชาชนมีส่วนร่วมตามวิถีแห่งประชาธิปไตย
 
4.  ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก
 
 1.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
 2.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต
 3.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
 4.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 5.  ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  
 
แนวทางการพัฒนา
 
  1.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
          วัตถุประสงค์               1.  เพื่อให้ประชาชนมีการคมนาคมขนส่งที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ได้
                                           มาตรฐาน และครอบคลุม เชื่อมโยง เป็นโครงข่ายทุกพื้นที่
                                         2.  เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ที่จำเป็นอย่างเพียงพอ ทั่วถึง และได้มาตรฐาน    
                                         3.  เพื่อให้ประชาชนมีน้ำสำหรับการอุปโภค บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ที่เพียงพอและทั่ว ถึง                                                
          เป้าหมาย                  1.  จัดให้มีและปรับปรุงเส้นทางคมนาคมที่สะดวกทุกหมู่บ้าน
                                        2.  จัดให้มีการก่อสร้าง ปรับปรุง และบำรุงรักษา บริการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ สะพาน ท่อระบายน้ำภายในหมู่บ้าน
          แนวทางการพัฒนา      1.  ก่อสร้าง ปรับปรุง  และบำรุงรักษา ถนน สะพาน ทางเท้า ทางระบายน้ำและพัฒนาระบบการวางผังเมือง
                                        2.  พัฒนาระบบไฟฟ้าและระบบประปา
                                        3.  พัฒนาระบบชลประทาน และพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและเลี้ยงสัตว์
 
  2.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต
          วัตถุประสงค์               1.  เพื่อสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และมีทรัพยากร
                                              มนุษย์ที่มีคุณภาพ
                                         2.  เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคนอย่างถ้วนหน้าและเท่าเทียมกัน
                                         3.  เพื่อสร้างสรรค์ชุมชนให้น่าอยู่  ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี ปลอดจากอบายมุก และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                                         4.  เพื่อรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นมิให้สูญหาย   พร้อมทั้งได้รับการสืบสานและพัฒนาตามยุคสมัยอย่างเหมาะสม
         เป้าหมาย                   1.  ประชาชนทุกหมู่บ้านมีโอกาสได้รับการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน
                                        2.  เด็ก สตรี คนชรา ผู้ด้อยโอกาสทุกกลุ่ม ได้รับสวัสดิการการสงเคราะห์ทุกคน
                                        3.  ประชาชนทุกหมู่บ้านมีสุขภาพอนามัยที่ดีไม่มีโรคติดต่อระบาด
                                        4.  สถาบันครอบครัวและสังคมมีความเข้มแข็งประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
         แนวทางการพัฒนา       1.  ส่งเสริมสนับสนุนและเพิ่มโอกาสในการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ
                                        2.  ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคม สำหรับกลุ่มผู้ด้วยโอกาส    
                                        3.  ส่งเสริมสนับสนุนงานสาธารณสุข และเสริมสร้างสุขภาพอนามัยการออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการ
                                        4.  อนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม  สืบสานจารีตประเพณี และภูมิปัญญา 
     ท้องถิ่น
                                        5.  การจัดระเบียบชุมชน เสริมสร้างมาตรการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรักษาความสงบเรียบร้อย และสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
 
  3.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
          วัตถุประสงค์               1.  เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีอาชีพ และรายได้ที่มั่นคง
                                         2.  เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดระบบเศรษฐกิจพอเพียง และเศรษฐกิจชุมชนที่เข้มแข็งด้วยเกษตรอินทรีชีวภาพ
          เป้าหมาย                   1.  ประชาชนมีอาชีพและมีรายได้เพิ่มขึ้น
                                         2.  กลุ่มอาชีพมีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้
                                         3.  ราษฎรทุกหมู่บ้านมีน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ และทั่วถึงในฤดูแล้ง  รวมทั้งมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรและเลี้ยงสัตว์อย่างเพียงพอ
                                         4.  พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางนิเวศวิทยา วัฒนธรรม ประเพณี ตลอดจนวิถีชีวิต ของคนในชุมชน เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน
          แนวทางการพัฒนา        1. ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาอาชีพ การลงทุน การพาณิชย์ การกระจายรายได้  การเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ และการท่องเที่ยว
 
4.  ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          วัตถุประสงค์               1.  เพื่อฟื้นฟู ดูแลรักษาป่าไม้ ให้มีความอุดมสมบูรณ์ แบบยั่งยืน
                                         2.  เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งน้ำ
                                         3.  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
          เป้าหมาย                   1.  ทรัพยากรธรรมชาติได้รับการฟื้นฟู ดูแลรักษา และพัฒนาที่ยั่งยืนโดยประชาชนมีส่วนร่วม
                                         2.  สิ่งแวดล้อมได้รับการจัดการอย่างถูกสุขลักษณะ มีประสิทธิภาพ และไม่เป็นมลพิษ
          แนวทางการพัฒนา       1.  บริหารจัดการ อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                                     
    5.  ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
          วัตถุประสงค์               1.  เพื่อให้การบริหารงานของ อบต. มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ประชาชนมีความพึงพอใจ
                                         2.  เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพ  รวดเร็วและท่าเทียมกันภายใต้แนวทางการบริหารจัดการที่ดี
                                         3.  เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
 
          เป้าหมาย                  1.  การให้บริการสาธารณะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประชาชนเกิดความพึงพอใจ    
                                        2.  บุคลากรในองค์กรมีคุณภาพและมีความสมัครใจในการทำงาน
                                        3.  ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท้องถิ่นของตนเอง
                                        4.  ประชาชนมีความเข้าใจในหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วม
          แนวทางการพัฒนา      1.  เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ และการให้บริการ


 
View : 3940